ล้างแอร์สัญญารายปี

ล้างแอร์สัญญารายปี

วางระบบแผนงานบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ ล้างแอร์สัญญารายปี

  ล้างแอร์สัญญารายปี เหมาะสำหรับองค์กร หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องปรับอากาศเข้ามาดูแล ด้วยวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและมีมาตรฐาน เพื่อป้องกันการเปิดปัญหา อีกทั้งเพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพการทำความเย็น ภายใต้เงื่อนไขในสัญญาจ้างแบบรายปี หรือที่เรียกกันว่า ล้างแอร์สัญญารายปี ระหว่างองค์กร หรือหน่วยงานผู้ว่าจ้าง และบริษัทผู้รับจ้าง

ข้อดีของล้างแอร์สัญญารายปี

  1. มีการวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) อย่างเป็นระบบ
  2. มีการซ่อมบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance) อย่างถูกต้อง
  3. ควบคุมความเสี่ยงในการเกิดปัญหา (Failure) ของเครื่องปรับอากาศ ด้วยหลักการ RBM
  4. ลดเวลาในงานซ่อมบำรุงของเครื่องปรับอากาศ
  5. ลดค่าใช้จ่ายในงานซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ

คำอธิบาย / คำจำกัดความ

  • PM หมายถึง การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)
  • CM หมายถึง การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance)

Maintenance Service Plan

    Maintenance Service Plan คือ การบํารุงรักษาตามกําหนด ตามระบบที่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลา (Period) และจํานวนผู้ปฏิบัติงาน (Man Hour) ที่จะเข้าดําเนินการบํารุงรักษา ซึ่งที่จะกล่าวถึงก็คือ การบํารุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เนื่องจากการดําเนินการบํารุงรักษาเชิงป้องกันนี้ สามารถที่จะพิจารณาวางแผนงานได้โดยอ้างอิงจาก ชั่วโมงการใช้งานเครื่องปรับอากาศ (Working Hours), รายการความเสี่ยงที่เครื่องปรับอากาศจะเกิดความบกพร่อง (Failure Risk), ผลกระทบเมื่อเครื่องปรับอากาศเกิดปัญหา (Failure Effect) ไม่ว่าจะด้านรักษาความปลอดภัย ด้านความปลอดภัย ด้านการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะป้องกันหรือลดการเกิดปัญหา (Corrective Maintenance) ในขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้การใช้งานวิธีการบํารุงรักษาประเภทนี้จะมีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานน้อยเพราะมีเวลาเตรียมการล่วงหน้าได้ในทุกขั้นตอน

ระบบ Air-conditioning system-Split type (PM รอบ 2 เดือน)

Air-conditioning system-Split type (PM รอบ 2 เดือน)

วิธีการปฏิบัติงานซ่อมบํารุง

  1. ทําการตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ทั้งหมดภายในระบบ ก่อนปฏิบัติงานว่าอยู่ในสภาพปกติ ไม่ชํารุดเสียหายและพร้อมใช้งาน
  2. เปิดตู้ Control Panel แล้ว Off Main Circuit Breaker เพื่อตัดไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบ ใช้ Multi meter ตรวจสอบแรงดันไฟทางที่จ่ายเข้ากับ Main Circuit Breaker จะต้องได้ค่า 220-230 Vac
  3. ตรวจสอบชุดฟิวส์ ชุด Magnetic Contactor Switch และอุปกรณ์ต่างๆภายในตู้ ต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานทําการขันย้ําจุดเชื่อมต่อสายไฟทุกจุดให้แน่น
  4. ทําการ ON Main Circuit Breaker จ่ายไฟเข้าระบบ ทดสอบการทํางาน Function Manual 
  5. ตรวจสอบแรงดันของสารทําความเย็น R-22 R-32 R-410 ทางด้าน High side และด้าน Low side ใช้ Manifold gauge วัดแรงดันน้ํายา โดยใช้สายต่อทางด้านที่วัด high range ต่อเข้ากับ วาล์วลูกศรท่อทางเดินน้ํายาทางด้าน high และนําสายทางด้านที่วัด low range ต่อเข้ากับท่อทางด้าน low 
  6. ตรวจสอบสภาพความสกปรกของ Air Filter โดยการถอด Filter ออกมาล้างด้วยน้ําสะอาด และใช้ Blower เป่าให้แห้ง และทําการใส่ Filter กลับคืนยังที่เดิม (ขั้นตอนนี้จะพิจารณาความสะอาด Air Filter ว่าอยู่ ในสภาพที่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อหรือเปลี่ยนใหม่ในกรณีที่คราบสิ่งสกปรกสะสมมากเกินไป)
  7. ตรวจสอบสภาพ และทําความสะอาดใบพัดของ Blower โดยตรวจความสกปรกของ Blower และใช้ ผ้า หรือแปรงปัดฝุ่นเช็ดทําความสะอาดตามใบพัด และโครงภายนอกของ Blower
  8. ตรวจสอบสภาพของ Condenser Fin Coil โดยตรวจดูระหว่างจุดยึดตัว Fin coil กับโครงว่าสมบูรณ ครบถ้วน ไม่หลุดหลวม หรือมีความสั่นสะเทือนส่งเสียงดังปกติ และตรวจดูตามแนวท่อทองแดงตามจุดรอย เชื่อมต่อว่ามีการรั่วซึมของน้ํายาสารทําความเย็นหรือไม่
  9. ตรวจดูสภาพพื้นที่โดยรอบตัว Condensing Unit จะต้องไม่มีวัสดุ สิ่งกีดขวางวางปิดหน้าเครื่อง บดบังทิศทางการระบายความร้อน และรวมถึงการระบายอากาศภายในห้องด้วย (โดยปกติลมที่พัดระบาย ออกมาจาก Condenser Coil จะเป็นมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ)
  10. ลักษณะของ Fin coil จะต้องไม่ล้ม หรือฉีกขาด ซึ่งอาจทําให้การระบายอากาศทําได้ไม่ดี จะต้อง แก้ไขโดยการใช้หวีปรับแต่งครีบ Fin Comb มาหวีเพื่อปรับแต่งตัวครีบให้อยู่ในสภาพปกติ
  11. ตรวจสอบ Evaporator Coil โดยตรวจดูระหว่างจุดยึดตัว Fin coil กับโครงว่าสมบูรณ์ ครบถ้วน ไม่หลุดหลวม หรือมีความสั่นสะเทือนส่งเสียงดังปกติ และตรวจดูตามแนวท่อทองแดงตามจุดรอยเชื่อมต่อว่ามี การรั่วซึมของน้ํายาสารทําความเย็นหรือไม่ หรือพับล้ม หรือฉีกขาด ซึ่งอาจทําให้การระบายอากาศทําได้ไม่ดี จะต้องแก้ไขโดยการใช้หวีปรับแต่งครีบ Fin Comb มาหวีเพื่อปรับแต่งตัวครีบให้อยู่ในสภาพปกติ
  12. ตรวจสอบความสามารถในการระบายน้ําทิ้งของถาดรองน้ํา Drainage tray ด้วยว่ามีการอุดตัน ของท่อระบายน้ําหรือไม่ ถ้าการระบายน้ําทําได้ยากให้ทําการล้างทําความสะอาดด้วย Water High pressure เพื่อป้องกันปัญหาความเสียหายที่เกิดจากน้ําล้นถาดระบายลงสู่ตู้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ใต้แนว เครื่องปรับอากาศ
  13. ตรวจสอบแผงหน้าตู้ Control Panel และขั้วสายไฟจุดต่อต่างๆให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
  14. ตรวจสอบแนวฉนวนป้องกันความเย็นกระจายออก (Insulation) ที่หุ้มแนวท่อทองแดงจะต้องไม่ฉีกขาด และอยู่ในสภาพสมบูรณ์
  15. ตรวจสอบรอยรั่วของท่อทองแดงสําหรับส่งน้ํายา
  16. ตรวจสอบดูความเร็วของลมแอร์ (Flow rate) จากตะแกรงที่จ่ายออกมาจาก Evaporator ว่ามี ความเร็ว 400-800 ft/min โดยใช้ Flow meter ในการวัดพร้อมทั้งบันทึกค่าที่วัดได้ลงในแบบฟอร์ม
  17. ทําการวัดค่ากระแสของชุด Condensing units (CDU) โดยใช้เครื่องมือคลิปแอมป์ในการวัด โดยค่าที่ได้จะต้องอยู่ในช่วงค่าที่กําหนดไว้ในคู่มือการซ่อมบํารุงของผู้ผลิต
  18. ทําการวัดกระแสของชุด  Fan Coil Unit (FCU)โดยใช้เครื่องมือคลิปแอมป์ในการวัด โดยค่าที่ได้จะต้องอยู่ในช่วงค่าที่กําหนดไว้ในคู่มือการซ่อมบํารุงของผู่ผลิต
  19. ทําการวัดค่าแรงดันของ Condensing units (CDU และ Fan Coil Unit (FCU) โดยใช้มัลติมิเตอร์ (Multi-meter) ในการวัด โดยค่าที่ได้จะต้องอยู่ในช่วงค่าที่กําหนด ซึ่งจะระบุไว้ในคู่มือการซ่อมบํารุงของผู้ผลิต 
  20. ทําความสะอาด Evaporator และท่อ Drain โดยใช้ปั้มฉีดน้ำแรงดันสูง (High Pressure water pump) ฉีดทําความสะอาดแผงรังผึ้ง และฉีดอัดท่อน้ําทิ้งเพื่อทําความสะอาดท่อด้วย พร้อมทั้งฉีดล้างตัวถาด น้ําทิ้งเพราะถาดน้ําทิ้งมักจะเกิดคราบสกปรกที่เป็นคราบเมือก เชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้ท่อน้ําทิ้งเกิด อาการอุดตัน 
  21. ทําความสะอาดสวนประกอบของ Condensing Unit โดยใช้ปั้ม (High Pressure water pump) ฉีด แผงรังผึ้ง และใบพัด Motor (ในขั้นตอนนี้จะต้องระมัดระวังน้ําที่ฉีดเข้าไปใน Motor และรวมถึงแผงวงจร ไฟฟ้าด้วย) 
  22. เมื่อปฏิบัติงานครบทุกขั้นตอนเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความเรียบร้อยหน้างานอีกครั้ง พร้อมลงรายละเอียดการปฏิบัติงานต่างๆลงใน Check Sheet ให้ครบถ้วน ตามข้อกำหนด ล้างแอร์สัญญารายปี 
ระบบ Air-conditioning system-Split type (PM รอบ 6 เดือน)
Air-conditioning system-Split type (PM รอบ 6 เดือน)

วิธีการปฏิบัติงานซ่อมบํารุง

  1. ตรวจสอบตามขั้นตอนการซ่อมบํารุงระบบ Air-conditioning system-Split type (PM รอบ 2 เดือน)
  2. ตรวจสอบปริมาณของน้ําหล่อเย็นในท่อทางเดินระบบ โดยใช้เครื่องมือ Flow meter ทั้งนี้ควร ควบคุมสภาพของท่อทางเดินน้ําในระบบให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่มีการหักงอหรือรั่ว
  3. ตรวจสอบสภาพของ Condenser ให้อยู่สภาพปกติ ไม่มีการสั่นของตัวโครง หรือเกิดเสียงดัง รวมถึง กายภาพภายนอกของตัวอุปกรณ์ต้องไม่ผุกร่อน ชํารุดเสียหาย
  4. ตรวจสอบสภาพใบพัดลม และแกนเพลามอเตอร์ โดยตรวจดูยางยึดมอเตอร์ โดยใช้มือจับดูว่าเกิดหลวม และอาจทําให้เกิดความเสียหายขึ้นกับอุปกรณ์ใกล้เคียงได้ ตรวจสอบแกนมอเตอร์ใช้มือหมุนแกนเพลา เพื่อตรวจสอบระยะการให้ตัวของลูกปืน ความลื่น และตรวจสอบความเสียหายของลูกปืนโดยการ ฟังเสียง Motor เวลาทํางานว่ามีเสียงดังผิดปกติหรือไม่
  5. ทําความสะอาด Evaporator และท่อ Drain โดยใช้ปั้มฉีดน้ําแรงดันสูง (High Pressure water pump) ฉีดทําความสะอาดแผงรังผึ้ง และฉีดอัดท่อน้ําทิ้งเพื่อทําความสะอาดท่อด้วย พร้อมทั้งฉีดล้างตัวถาด น้ําทิ้งเพราะถาดน้ําทิ้งมักจะเกิดคราบสกปรกที่เป็นคราบเมือก เชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้ท่อน้ําทิ้งเกิด อาการอุดตัน 
  6. ตรวจสอบสภาพแนวฉนวนป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว (Insulation)
  7. ทําความสะอาดผิวด้านหน้าของ Compressor โดยใช้ผ้าสะอาดเช็ดทําความสะอาด
  8. ทําความสะอาดสวนประกอบของ Condensing Unit โดยใช้ปั้ม (High Pressure water pump) ฉีด แผงรังผึ้ง และใบพัด Motor (ในขั้นตอนนี้จะต้องระมัดระวังน้ําที่ฉีดเข้าไปใน Motor และรวมถึงแผงวงจร ไฟฟ้าด้วย)
  9. เมื่อปฏิบัติงานครบทุกขั้นตอนเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความเรียบร้อยหน้างานอีกครั้ง พร้อมลงรายละเอียดการปฏิบัติงานต่างๆลงใน Check Sheet ให้ครบถ้วน ตามข้อกำหนด ล้างแอร์สัญญารายปี 
ระบบ Air-conditioning system-Split type (PM รอบ 1 ปี)
Air-conditioning system-Split type PM รอบ 1 ปี

วิธีการปฏิบัติงานซ่อมบํารุง

  1. ตรวจสอบตามขั้นตอนการซ่อมบํารุงระบบ Air-conditioning system-Split type (PM รอบ 2 เดือน และ 6 เดือน) 
  2. ทําความสะอาด Evaporator Coil ด้วยน้ํายาสําหรับทําความสะอาดคราบสกปรกที่หน้า Fin coil โดยการใช้เครื่องฉีดพ้นฝอยละออง ในการฉีดน้ํายาทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที เพื่อให้น้ํายาทําปฏิกิริยาต่อคราบ ฝุ่น และสิ่งสกปรก แล้วจึงฉีดล้างออกด้วยน้ําธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง 
  3. ทําความสะอาด Condensing Coil เช่นเดียวกันกับข้างตhนดวยน้ํายาสําหรับทําความสะอาดคราบสกปรกที่หน้า Fin coil โดยการใช้เครื่องฉีดพ่นฝอยละออง ในการฉีดน้ํายาทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที เพื่อให้น้ํายาทําปฏิกิริยาต่อคราบฝุ่น และสิ่งสกปรก แล้วจึงฉีดล้างออกด้วยน้ําธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง
  4. ตรวจสอบดูตามท่อทองแดงว่ามีรอยรั่วหรือไม่
  5. ตรวจสอบสภาพด้านนอกและด้านในโดยทั่วไปของ Evaporator และ Condensing
  6. เมื่อปฏิบัติงานครบทุกขั้นตอนเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความเรียบร้อยหน้างานอีกครั้ง พร้อมลงรายละเอียดการปฏิบัติงานต่างๆลงใน Check Sheet ให้ครบถ้วน ตามข้อกำหนด ล้างแอร์สัญญารายปี 
VDO ล้างแอร์

สามารถจองคิวงานผ่านแบบฟรอม์นี้ได้

    บริการที่คุณสนใจ

    เอกสารตัวอย่าง

    บทความแนะนำ

    ซ่อมแอร์

    บริการซ่อมแอร์

    บริการติดตั้งแอร์

    บริการติดตั้งแอ

    ล้างแอร์บ้าน

    ล้างแอร์บ้าน

    แผนที่ร้าน