ล้างแอร์บ้าน

ขั้นตอนล้างแอร์

ล้างแอร์บ้าน และการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

ล้างแอร์บ้าน เพื่อทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ นอกจากนั้นยังช่วยลดการกินกระแสไฟฟ้า ได้อีกด้วยมีขั้นตอนการตรวจเช็คระบบน้ำยา ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ให้ดียิ่งขึ้น ต่อไปเป็นวิธีการ โดยจะอธิบายแบบละเอียดทุกขั้นตอนการล้างแอร์บ้าน รวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ และการตรวจเช็คระบบทำงานของ เครื่องปรับอากาศ

ข้อดีของการล้างแอร์บ้าน

  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ เครื่องปรับอากาศ
  • ช่วยยืดระยะการใช้งานของ เครื่องปรับอากาศ
  • ช่วยลดรายจ่ายในการซ่อมบำรุง และ ช่วยประหยัดค่าไฟ
  • ลดการอุดตันของอุปกรณ์ภายใน จากฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ
  • ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และ ความชื้นทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับ
รับชม VDO

อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับล้างแอร์

อุปกรณ์ล้างแอร์
  • ชุดไขควงปากแฉก ปากแบน ไขควงวัดไฟ
  • ชุดคีมปากจิ๋งจก ปากเฉียง ปากแหลม
  • ประแจเลื่อน
  • ปั้มน้ำแรงกันสูง หัวฉีดล้าง
  • เครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า
  • เครื่องมือวัดอุณหภูมิและความเร็วลม
  • โบวเวอร์เป่าลม
  • เกจวัดน้ำยาแอร์
  • ผ้ายางปูรองบันได
  • ผ้าสำใบสำหรับคลุมปิด (ฟอนิเจอร์)
  • ผ้าใบหรือพลาสติกใส
  • ผ้าสะอาดสำหรับเช็ดทำความสะอาด
  • ถังน้ำพลาสติก 2 ถัง
  • ถังสำหรับพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • น้ำยาฆ่าเชื้อ
  • สายปลั๊กพ่วง

ขั้นตอนการล้างแอร์บ้านและปฏิบัติงาน

  • อันดับแรกเราควรตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ อัตราการการกินกระแสไฟฟ้าสูงสุด
  • ต่อด้วยชนิดและปริมาณน้ำยา (สารทำความเย็น) ของเครื่องปรับอากาศก่อนที่เรากำลังจะทำการ ล้างแอร์บ้าน สามารถดูข้อมูลเหล่านี้ได้จากจาก เนมเพลท ของเครื่องปรับอากาศที่ติดอยู่บริเวณคอย์ร้อนและคอย์เย็นของตัวเครื่องปรับอากาศ จากข้อมูลผลิตภัณฑ์แอร์เครื่องนี้ อัตราการกินกระแสไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่  7.2  แอมแปร์ ชนิดและปริมาณน้ำยาคือ R32 
วัดแรงลมและอุณหภูมิ
  • ก่อนทำการ ล้างแอร์บ้าน เราควรวัดแรงลมและอุณหภูมิก่อนการปฎิบัติงาน โดยทำการจดบันทึกข้อมูลค่าที่ได้จากเครื่องมือวัดลงเอกสาร Checklist  แอร์เครื่องนี้ก่อนทำการล้างแอร์บ้าน
  • ตั้งอุณหภูมิไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่าจากเครื่องมือที่ใช้ทำการวัดอุณหภูมิและความเร็วลม ค่าของอุณหภูมิที่ทำการวัดได้อยู่ที่ 23.8 องศาเซลเซีย ค่าองความเร็วลมวัดได้อยู่ที่ 2.03 (m/s) 
  • คอย์ร้อนก็เช่นกันก่อนทำการ ล้างแอร์บ้าน เราควรวัดอัตราการกินกระแสไฟฟ้าและปริมาณของน้ำยาแอร์ ด้วยเครื่องมือที่ใช้วัดค่า (คลิปแอมป์)และ(เกจวัดน้ำยา) ก่อนการปฎิบัติงานโดยทำการจดบันทึกข้อมูล ค่าที่ได้จากเครื่องมือวัดลงเอกสาร Checklist 
  • แอร์เครื่องนี้ก่อนทำการล้างแอร์ตั้งอุณหภูมิไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ทำการวัดได้อยู่ที่ 5.31 แอมแปร์ ปริมาณน้ำยาแอร์ ชนิด R32 ค่าที่วัดได้อยู่ที่ 110  PSI
ปิดแอร์และปิดเบรคเกอร์
  • หลังจากที่เราได้ทำการตรวจวัด อุณหภูมิ/ความเร็วลม/อัตราการกินกระแสไฟฟ้าและปริมาณของน้ำยาแอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • จากนั้นทำการจดบันทึกค่าที่ได้ลงเอกสาร Checklist แล้วทำการปิดเครื่องปรับอากาศและ Off Circuit Breaker ของเครื่องปรับอากาศเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องปรับอากาศและป้องกันอัตรายจากการถูกกระแสไฟฟ้าซ๊อตขณะปฎิบัติงาน
ถอดฟิวเตอร์
  • เริ่มทำการถอดหน้ากากแอร์ โดยเครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่นจะทำการถอดและประกอบไม่เหมือนกันสุดแล้วแต่การออกแบบ ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศของแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์ของผู้ผลิตที่จะออกแบบมา
  • โดยมีวิธีให้สังเกตุดังนี้ สลักและตำแหน่งน๊อตสกรู ในแต่ละจุด ส่วนเครื่องปรับอากาศรุ่นนี้ตำแหน่งฟิวเตอร์จะอยู่ด้านบนให้ทำการถอดออกและตำแหน่งหน้ากากด้านล่างให้ทำการง้างออกจะเห็นตำแหน่งน๊อตกรูทั้งซ้ายและขวา
ถอดหน้ากากแอร์
  • ให้ทำการขันน๊อตสกรูออกทั้งซ้ายและขวา แลัวทำการถอดหน้ากากแอร์โดยทำการยกออกจากตัวเครื่องปรับอากาศ แล้วทำการตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟหน้าเครื่องอีกครั้งโดยใช้ไขควงเช็คไฟฟ้า
  • รีเช็คเพื่อตรวจดูให้มั่นใจว่า ไม่มีกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายอื่นๆเข้ามาที่ตัวเครื่องปรับอากาศเพื่อความปลอดภัยในการปฎิบัติงาน
ถอดถาดน้ำทิ้ง
  • จากนั้นให้ทำการถอดถาดน้ำทิ้งออกโดยมีขั้นตอนดังนี้ ปลดสายไฟคอนเนคเตอร์ของมอเตอร์บานสวิงแอร์ออกจากแผงบอร์ดแอร์
  • แล้วทำการไขสกรูของถาดน้ำทิ้งออกทั้งซ้ายและขวา และค่อยๆถอดถาดน้ำทิ้งออกจากตัวเครื่อง
  • จากนั้นปลดท่อน้ำทิ้งให้หลุดออกจากถาดน้ำทิ้ง หากถาดน้ำทิ้งมีน้ำขังอยู่ให้ทำการค่อยๆเทน้ำที่ค้างถาดใส่กระป๋องที่เตรียมไว้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นครับ
ห่อแอร์
  • จากนั้นให้ทำการห่อแผงคอย์เย็นด้วยผ้าใบแบบสำเร็จ หรือจากในรูปทางเราใช้พลาสติกใสในการห่อ ล้างแอร์บ้าน ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกับผ้าใบสำเร็จ ทางเราจะไม่ขอเปรียบเทียบนะครับ เอาเป็นว่าแล้วแต่ความถนัดเลยครับ
  • ห่อด้วยพลสติกใสขั้นตอนแรกให้ทำการห่อแผงวงจรเพื่อป้องกันน้ำเข้าแผงบอทและมอเตอร์แอร์ครับ ขั้นตอนที่สองใช้พลาสติกใสห่อส่วนบนและส่วนล่างของแผงคอย์เย็นและผนึกเข้าหากันให้ได้ตามรูปทรงตามรูปตัวอย่างครับ
  • ต่อไปเป็นขั้นตอนการลงน้ำยาฆ่าเชื้อ ก่อนฉีดล้างด้วยปั้มน้ำแรงดันสูง เพื่อฆ่าเชื้อรา/เชื้อโรคและกลิ่นอับที่สะสมเกาะติดอยู่ที่แผงคอย์เย็น เตรียมถังน้ำมาลองทางด้านปลายของพลาสติกใส ที่ทำการห่อล้างเพื่อให้น้ำยาและน้ำจากการ ล้างลงไปอยู่ในถัง
  • จากนั้นทำการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณแผงคอย์เย็น น้ำยาจะค่อยๆทำปฏิกิริยาเกิดฟองขจัดคราบสิ่งสกปกออก โดยจะทำการทิ้งไว้ประมาณ 60 วินาที ก่อนล้างออกด้วยปั้มน้ำแรงดันสูง 
ฉีดล้างคอย์เย็น
  • ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการฉีดล้างด้วยปั้มน้ำแรงดันสูง ให้ทำการฉีดล้างให้ทั่วบริเวณแผงแฟนคอย์โดยไล่ฉีดจากทางด้านขวามายังซ้าย เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าแผงบอท ขั้นตอนนี้ต้องระมัดระวังด้วยนะครับ
  • จากนั้นฉีดจากแผงด้านหลังแล้วค่อยๆ ฉีดพัดลมโพรงกระรอก โดยใช้มือซ้ายจับใบพัดไว้ไม่ให้หมุนตามแรงน้ำนะครับ มิเช่นนั้นเมอเตอร์อาจเกิดความเสียหายได้ สุดท้ายหลังจากฉีดล้างจนสะอาดทั่วแล้ว ให้ทำการฉีดอัดท่อน้ำทิ้งจนคราบเมือกคราบตะกอนที่สะสมออกจนหมด 
เป่าลมแห้งด้วยโบลเวอร์
  • ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการเป่าลมแห้ง ด้วยโบว์เวอร์ อันดับแรกให้เป่าหน้าแผงคอย์เย็นจนแห้งก่อน
  • จากนั้นตามด้วยเป่าพัดลมโพรงกระรอก โดยใช้มือซ้ายจับใบพัดไว้นะครับอย่าให้ใบพัดหมุนตามแรงลม มิเช่นนั้นอาจทำให้มอเตอร์พัดลมแอร์เกิดความเสียหายได้ ให้ค่อยๆปล่อยมือโดยให้ใบพัดหมุนทีละนิดพอครับ
  • ค่อยๆเป่าแผงบอร์ดแอร์และคอนเนคเตอร์สายไฟสายไฟต่างๆให้แห้ง แล้วจึงเป่าอัดท่อน้ำทิ้งซ้ำอีกครั้งครับ
  • นำฟิวเตอร์ถาดน้ำทิ้งและหน้าการแอร์มาฉีดล้างทำความสะอาดด้วยปั้มน้ำแรงดันสูง ถาดน้ำทิ้งทางด้านขวา จะมีมอเตอร์บานสวิงแอร์อยู่ให้ทำการถอดออกก่อนล้าง เพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์บานสวิงแอร์เกิดความเสียหาย
  • เทคนิคการฉีดล้างแผ่นกรองอากาศควรฉีดล้างจากด้านตรงข้ามของแผ่นกรองอากาศ ซึ่งจะทำให้ทำการฉีดล้างออกได้ง่ายและสะอาดมากยิ่งขึ้น 
เป่าแห้งหน้ากากแอร์
  • จากนั้นนำฟิวเตอร์/ถาดน้ำทิ้งและหน้าการแอร์ มาเป่าลมแห้งด้วยโบลเวอร์และเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดให้แห้งสนิท
  • จากนั้นประกอบชุดมอเตอร์บานสวิงแอร์กลับเข้าตำแหน่งเดิม หลังจากเช็ดทำความสะอาดฟิวเตอร์/ถาดน้ำทิ้งและหน้าการแอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเตรียมพร้อมอุปกรณ์เพื่อทำการประกอบกลับเข้าตัวเครื่องได้ครับ
ประกอบถาดน้ำทิ้ง
  • ประกอบถาดน้ำทิ้งเข้ากับตัวเครื่องโดยเริ่มจากต่อท่อน้ำทิ้งเข้ากับถาดน้ำทิ้งก่อน แล้วจึงใส่ถาดน้ำทิ้งกลับเข้าไปตำแหน่งเดิม
  • ไขน็อตสกรูทั้งซ้ายและขวาเข้าตำแหน่งเดิม จากนั้นทำการต่อสายคอนเนคเตอร์มอเตอร์บานสวิงค์กลับเข้าแผงบอร์ดแอร์ ตรวจสอบความแน่นของถาดน้ำทิ้งอีกครั้งก่อนประกอบหน้ากากแอร์
ประกอบหน้ากากแอร์
  • ประกอบหน้ากากแอร์เข้าตำแหน่งเดิมของตัวเครื่อง ไขน๊อตสกรูทั้งซ้ายและขวากลับตำแหน่งเดิม ตามด้วยใส่แผ่นกรองอากาศ (ฟิวเตอร์) 
  • เช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องด้วยผ้าสะอาดอีกครั้ง ตรวจเช็คความแน่นหนาของอุปกรณ์อีกครั้ง
ล้างคอย์ร้อน
  • ล้างทำความสะอาดคอย์ร้อยด้วยปั้มน้ำแรงดันสูง โดยทำการฉีดล้างแผงรังผึ้งคอย์ร้อนทั้งด้านในและด้านนอกจนสะอาด หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำโดยตรงกับมอเตอร์พัดลมคอย์ร้อน มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายของมอเตอร์พัดลมได้
  • จากนั้นฉีดล้างทำความสะอาดตัวโครงโดยรอบ ตรวจสอบสิ่งของไม่ให้บดบังการระบายความร้อน ของคอย์ร้อนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
  • ทำการ On Circuit Breaker และเปิดเครื่องปรับอากาศ ตั้งอุณหภูมิตัวเครื่องไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส เราควรวัดอุณหภูมิ/แรงลม/อัตราการกินกระแสไฟฟ้าและปริมาณของน้ำยาแอร์ หลังจาก ล้างแอร์บ้าน ซ้ำอีกครั้ง ด้วยเครื่องมือที่ใช้วัดค่า (คลิปแอมป์)และ(เกจวัดน้ำยา)
  • โดยทำการจดบันทึกข้อมูล ค่าที่ได้จากเครื่องมือวัดลงเอกสาร Checklist  เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลในการทำงานในครั้งถัดไป

ติดต่อเรียกใช้บริการของเรา

เพิ่มเพื่อน

สามารถจองคิวงานผ่านแบบฟรอม์นี้ได้

    บริการที่คุณสนใจ

    เอกสารตัวอย่าง

    บทความแนะนำ

    ซ่อมแอร์

    บริการซ่อมแอร์

    ล้างแอร์สัญญารายปี

    ล้างแอร์สัญญารา

    Error Code แอร์

    Error Code แอร์

    เพียงแค่แค๊ปหน้าจอ COUPON นี้แล้วนำมาเป็นส่วนลดได้ทันที

    แผนที่ร้าน