ติดตั้งแอร์
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
ในทุก ๆ ครัวเรือนในปัจจุบันเครื่องปรับอากาศนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสภาวะแวดล้อมทางอากาศ มลภาวะแวดล้อม ยิ่งช่วงฤดูร้อนด้วยแล้วการมีเครื่องปรับอากาศติดไว้ภายในบ้านก็ยังเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการบรรเทาความร้อนจากสภาพอากาศ นอกจากจะมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเผื่อผ่อนคลายความร้อนจากสภาพอากาศแล้ว เราก็ควรรู้จักเลือกประเภทของเครื่องปรับอากาศ ตำแหน่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนแต่ส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างสูงสุด รวมถึงความเย็นที่ได้รับ อีกทั้งเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าอีกด้วย
ก่อนที่จะทำการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเราควรพิจารณาขนาดของห้องเพื่อเลือกขนาดและประเภทของเครื่องปรับอากาศที่ถูกต้องเหมาะสมรวมไปถึงการเลือกตำแหน่งของการติดตั้งเครื่องปรับอากาศด้วย เรามีหลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการเลือกตำแหน่งของการติดตั้ง ดังนี้
การคำนวณขนาด BTU ให้เหมาะสมกับห้อง
สูตรการคำนวณพื้นที่ห้องเพื่อหาขนาด BTU ของแอร์ มีสูตรเบื้องต้นแบบง่ายๆ ดังนี้
- พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว x 600) = xx,xxx BTU
ใช้สำหรับคำนวณหาพื้นที่สำหรับคอนโดมีเนียม, อพาร์เม้นท์, ห้องนอน ฯลฯ ที่ไม่โดนแดด - พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว x 800) = xx,xxx BTU
ใช้สำหรับคำนวณหาพื้นที่สำหรับห้องรับแขก, ห้องนั่งเล่น, โถง, ห้องทั่วไป, ห้องออดิทอเรียม ฯลฯ - พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว x 1,000) = xx,xxx BTU
ใช้สำหรับคำนวณหาพื้นที่สำหรับห้องประชุม, ร้านค้า, โชว์รูม, โรงหนัง, โรงแรม, ล๊อบบี้ ฯลฯ
สารบัญเนื้อหา
- การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
- การติดตั้งคอล์ยเย็นที่เหมาะสม (Fan coil Unit)
- การติดตั้งคอล์ยร้อนที่เหมาะสม (Condensing Unit )
- การติดตั้งท่อน้ำทิ้ง
- ระบบท่อน้ำยาสารทำความเย็น
- การเลือกขนาดเบรกเกอร์และสายไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศ
- ค่าบริการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
- การรับประกัน
- จองคิวงานผ่านแบบฟอร์ม
การติดตั้งคอล์ยเย็นที่เหมาะสม (Fan coil Unit)
- ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในตำแหน่งที่สามารถกระจายลมได้สม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง
- หลีกเลี่ยงการติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือประตู หรือหน้าต่าง เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและลดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ รวมถึงหลีกเลี่ยงการติดเครื่องปรับอากาศในตำแหน่งที่ต้องเจอกับแสงแดดโดยตรงเพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักเกินความจำเป็น
- หากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้หาฉากกั้นเพื่อลดการกระจายความเย็นหรืออาจจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดเดียวกันไว้ทั้ง 2 ฝั่งของห้อง เพื่อทำให้การทำความเย็นภายในห้องทั่วถึง ไม่ควรติดแอร์ขนาดใหญ่เพียงตัวเดียว เพราะนอกจากจะทำให้แอร์เย็นเกินแล้ว จะทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงติดตั้งเครื่องปรับอากาศบริเวณที่อากาศไม่สะอาด อาทิ บริเวณที่มีการหุงต้ม ถ่ายเอกสาร เป็นต้น
- บริเวณที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศต้องแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้
- ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในบริเวณที่มีสิ่งกีดขวางการกระจายของลม
- ติดตั้งชุดคอยล์เย็นในบริเวณที่สามารถตรวจซ่อมภายหลังได้อย่างสะดวก
- ติดตั้งให้คอยล์เย็น เอียงไปทางรูระบายน้ำของถาดน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการเอ่อล้นของน้ำทิ้งเข้ามาในห้องและเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราที่ถาดน้ำทิ้ง
- พยายามติดตั้งคอยล์เย็นให้อยู่ใกล้กับคอยล์ร้อนจะทำให้ประสิทธิภาพสูงสุด
- ติดตั้งในตำแหน่งที่การส่งลมออกจาเครื่องพุ่งสู่ด้านหน้าของผู้นั่ง หรือทำงานระวังอย่าติดตั้งให้เครื่องพุ่งกระจายลมเข้าที่บริเวณท้ายทอยหรือด้านหลังของคน
- หากเพดานสูงเกินกว่า 2.5 เมตร ไม่ควรติดตั้งแอร์ติดผนัง ควรติดตั้งเป็นแอร์แขวนหรือแอร์สี่ทิศทางแทน เพื่อประสิทธิภาพการกระจายลมที่ดียิ่งขึ้น
- ควรติดตั้งเครื่องภายใน ในสถานที่ที่ สามารถเชื่อมต่อสายไฟและสายสัญญาณกับเครื่องภายนอกได้ง่าย
การติดตั้งคอล์ยร้อนที่เหมาะสม (Condensing Unit )
- บริเวณที่ติดตั้งเครื่องควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก ปราศจากฝุ่นละอองละอองน้ำมัน
- ติดตั้งในที่ ๆ สามารถดูแลบำรุงรักษา และซ่อมแซมได้สะดวก
- ติดตั้งในบริเวณที่ ๆ ไม่ส่งเสียงรบกวนเข้ามาภายในห้อง
- บริเวณที่ติดตั้งต้องอยู่ในบริเวณร่มไม่ถูกแดดฝน ไม่ให้เครื่องแช่น้ำหรือไม่ใกล้แหล่งน้ำ
- ชุดคอล์ยร้อนหาไม่ได้แขวนควรมีแท่นยางรองเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานของตัวเครื่อง
- ควรวางชุดคอล์ยร้อน ไม่ควรให้ห่างจากชุดแฟนคอยล์มากนักเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องปรับอากาศลดลง
- ควรติดตั้งโดยให้ชุดคอล์ยร้อนวางในแนวราบระดับเท่ากัน ไม่วางให้เอียงด้านใดด้านหนึ่ง
แผนที่ร้าน