ซ่อมแอร์บ้านจบทุกปัญหาโดยช่างแอร์มืออาชีพ
เมื่อถึงเวลาเรียกช่างแอร์มา ซ่อมแอร์ ดังนั้นเราลองมาดูกันหน่อยมั้ย ว่าอาการเสียที่เจอบ่อย ๆ มีอะไรบ้าง เช่น ปัญหาแอร์รั่ว แอร์ไม่เย็น แอร์มีแต่ลม คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน, แอร์มีเสียงดัง แอร์น้ำหยด ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นปัญหาใน การลดอายุของเครื่องปรับอากาศทั้งสิ้น เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศที่เราใช้อยู่ทุกวันนั้น ทนทาน ไม่เกิดปัญหาระหว่าการใช้งานด้วยแล้ว การตรวจเช็คหรือหมั่นสังเกตุอาการเสียก่อนที่จะแจ้งช่างมา ซ่อมแอร์ นั้น เบื้องต้นก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศอีกด้วย
ราคา ซ่อมแอร์
เปลี่ยน แค็ปสตาร์ท ( Cap run ) *Start Compressor
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,200 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน แค็ปสตาร์ท ( Cap run ) *Start Motor คอยล์ร้อน
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน ขายางรองคอยล์ร้อน
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน แมกเนติกคอนแทกเตอร์ ( Magnetic Contactor )
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,200 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน แมกเนติกคอนแทกเตอร์ ( แอร์ระบบไฟฟ้า 3 เฟส )
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 2,800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน สายหัวหลัก คอมเพรสเซอร์
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน ใบพัดลม มอเตอร์คอยล์ร้อน
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน มอเตอร์คอยล์ร้อน พร้อมใบพัด
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 3,500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน เซอร์วิสวาล์ว (Service Valve)
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 2,800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน แคปทิ้วบ์ (Capillary Tube)
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
- ขนาด 9000 – 20,000 BTU ราคา = 1,800 บาท
- ขนาด 21,000 – 30,000 BTU ราคา = 2,500 บาท
- ขนาด 31,000 – 40,000 BTU ราคา = 3,500 บาท
- ขนาด 41,000 – 60,000 BTU ราคา = 4,800 บาท
เปลี่ยน ฟิลเตอร์ดรายเออร์ (Filter drier)
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน คอมเพรสเซอร์แอร์ (compressor)
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 6,500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
*ราคาขึ้นอยู่กับประเภทของ Compressor / ขนาด BTU / ชนิดของน้ำยา / ยี่ห้อ และ รุ่น ทั้งนี้ทางร้านจะประเมิณราคาซ่อม และแจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อการตัดสินใจ ก่อนการปฎิบัติงาน*
ล้างระบบด้วยน้ำยา F11 กรณี (ระบบตัน)
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 3,500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
- ขนาด 9000 – 20,000 BTU ราคา = 3,500 บาท
- ขนาด 21,000 – 30,000 BTU ราคา = 4,500 บาท
- ขนาด 31,000 – 40,000 BTU ราคา = 5,500 บาท
- ขนาด 41,000 – 60,000 BTU ราคา = 7,800 บาท
เปลี่ยนแผงคอยล์ร้อน
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 5,500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
*ราคาขึ้นอยู่กับประเภทของ แผงคอยล์ร้อน / ขนาด BTU / ชนิดของน้ำยา / ยี่ห้อ และ รุ่น ทั้งนี้ทางร้านจะประเมิณราคาซ่อม และแจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อการตัดสินใจ ก่อนการปฎิบัติงาน*
เปลี่ยนแผงคอยล์เย็น
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 5,500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
*ราคาขึ้นอยู่กับประเภทของ แผงคอยล์เย็น / ขนาด BTU / ชนิดของน้ำยา / ยี่ห้อ และ รุ่น ทั้งนี้ทางร้านจะประเมิณราคาซ่อม และแจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อการตัดสินใจ ก่อนการปฎิบัติงาน*
เปลี่ยน มอเตอร์บานสวิง
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,200 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน บอร์ดแอร์
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 3,500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน เซนเซอร์อุณหภูมิ (Temperature Sensor)
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,200 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน เซ็นเชอร์น้ำแข็ง
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,200 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยน ใบพัดลมคอยล์เย็น โบเวอร์แอร์
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 12,00 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
*ราคาขึ้นอยู่กับประเภทของ ใบพัดลมคอยล์เย็น / ขนาด BTU / ยี่ห้อ และ รุ่น ทั้งนี้ทางร้านจะประเมิณราคาซ่อม และแจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อการตัดสินใจ ก่อนการปฎิบัติงาน*
เปลี่ยน Thermo Room หรือ Remote
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 12,00 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
- เทอร์โมรูมแบบมีสาย ราคา = 1,200 บาท
- ชุดคอนโทรลดิจิตอลแบบมีสาย ราคา = 1,850 บาท
- ชุดคอนโทรลดิจิตอลแบบไร้สาย ราคา = 2,500 บาท
ซ่อมรั่ว (เช็ครอยรั่วเครื่องปรับอากาศ ด้วยไนโตรเจน)
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,800 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
ซ่อมกรณีปัญหาระบบไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ Circuit Breaker Trip
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 1,500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
เปลี่ยนลูก Circuit Breaker
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ = 500 บาท (รวมค่าบริการและตรวจเช็ค)
การรับประกัน
ระยะเวลารับประกัน ซ่อมแอร์
- รับประกันงานซ่อมสูงสุด 120 วัน
- หากลูกค้าพบความเสียหายอันเกิดจากการซ่อม ลูกค้าสามารถแจ้งความเสียหายมาที่เจ้าหน้าที่ Call Center ได้โดยการโทรหรือทาง Line Application ซึ่งลูกค้าจะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
2.1 ใบเสร็จการให้บริการ ที่มีเลขที่กำกับ
2.2 ถ่ายภาพจุดหรือสิ่งที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากการซ่อมแอร์ของช่าง
สามารถจองคิวงานผ่านแบบฟรอม์นี้ได้
ตรวจสอบ Error Code
วิธีตรวจสอบอาการเสียของเครื่องปรับอากาศ เบื้องต้นที่สามารถทำได้ง่ายๆและทำได้ด้วยตนเอง โดยทำการตรวจสอบจาก Error Code สามารถคลิ๊กดูได้จากโลโก้แต่ละ แบรนด์ ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
อาการเสียของแอร์มีอะไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร
ซ่อมแอร์ แอร์ไม่เย็น (มีแต่ลม)
อาการนี้ค่อนข้างกว้าง มีสาเหตุได้หลายสาเหตุ เช่น น้ำยาขาดหรือน้ำยาแอร์รั่ว, เมกเนติกเสีย, คาปาซิเตอร์รันคอมฯเสีย, เซนเซอร์อุณหภูมิเสีย, แอร์ตัน, แอร์สกปรก ซึ่งอากรนี้ช่างจะทำการไล่ตรวจสอบตั้งแต่วัดระดับน้ำยาแอร์ในระบบ >> วัดกระแสไฟฟ้า >> ตรวจสอบหารอยรั่วที่ท่อแอร์ >> ตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ >> ตรวจสอบอุปกรณ์เซนเซอร์อุณหภูมิ หรือสาเหตุจากการติดตั้งขนาดแอร์ (BTU) ไม่เหมาะสมกับห้องก็เป็นได้
ซ่อมแอร์ แอร์ไม่ทำงาน (เปิดไม่ติด)
เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับแอร์เก่า ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจาก ชุดรับสัญญาณรีโมทเสียหรือตัวรีโมทมีปัญหา, สายไฟขาดทำให้ไม่มีแรงดันไฟฟ้ามาเลี้ยงในระบบ
- เปิดแอร์ได้ 5 นาที เบรกเกอร์ทริป
ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สามารถสโคปปัญหาหน้างานได้ไม่ยาก เพราะระบบไฟฟ้าในเครื่องปรับอากาศไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมาก ซึ่งปัญหาเบรกเกอร์ทริปอาจจะมาจาก แรงดันไฟตก, ไฟมาไม่ครบ 3 เฟส (สำหรับมอเตอร์ 3 เฟส), เลือกขนาดสายไฟไม่เหมาะสม, จุดต่อเทอมินอลเชื่อมต่อของสายไฟหลุดหลวม, หน้าคอนแทรกของแมคเนติกสกปรก - แอร์มีน้ำหยดบริเวณด้านหน้าแอร์หรือบริเวณใต้ชุดคอนโทล
กรณีน้ำหยดมาจากหลายสาเหตุ เช่น กรณีน้ำหยดใต้แอร์บริเวณถาดน้ำทิ้ง กรณีนี้สาเหตุมาจากท่อหรือเส้นทางระบายน้ำทิ้งสกปรกมีการอุดตันของเมือกตะใคร่น้ำ แก้ไขโดยการฉีดน้ำทำความสะอาด ด้วยปั๊มแรงดันสูง หรือกรณีน้ำหยดจากการเกิดคอนเด้น (ควบแน่น) ของไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำ อาจเกิดบริเวณท่อแอร์ แก้ไขโดยเปลี่ยนฉนวนหุ่มท่อแอร์ใหม่ - แอร์ขึ้นไฟกระพริบที่คอยล์เย็น
การมีไฟ LED กระพริบหน้าแอร์นั้นจะกระพริบเป็นจังหวะรหรือจำนวนครั้งตามโค๊ดของแอร์แต่ละยี่ห้อ ซึ่งจะหมายถึงอุปกร์ด้านในตัวแอร์มีปัญหา เช่น บอร์ดคอนโทร, เซ็นเซอร์อุณหภูมิ, มอเตอร์พัดลม หรือกรณีเป็นแอร์ Inverter ก็อาจจะมีปัญหาที่บอร์ดคอนโทรของแอร์ตัวนอก (Condensing Unit) ยกตัวอย่างเช่น
ไฟ LED กระพริบ 2 ครั้ง เกิดจากเซ็นเซอร์น้ำแข็ง หรือเซ็นเซอร์วัดอุณภูมิชำรุด
ไฟ LED กระพริบ 3 ครั้ง เกิดจากมอเตอร์ Fan coil Unit ชำรุด
ไฟ LED กระพริบ 5 ครั้ง เกิดจากบอร์ดคอนโทรภายใน Condensing Unit ชำรุด
ไฟ LED กระพริบ 14 ครั้ง (หยุด 2.5 วินาที) เกิดจากสารทำความเย็นไม่เพียงพอ - พัดลมคอยล์เย็นไม่ทำงาน หรือหมุนช้า
ปัญหาพัดลมคอยล์เย็นไม่ทำงานหรือรอบการหมุนเพื่อเป่าลมเย็นออกมาไม่เต็มที่ อย่างแรกที่ต้องตรวจสอบคือการทำงานหรือประสิทธิภาพของมอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น หากตรวจสอบมอเตอร์แล้วไม่พบปัญหา สิ่งที่ต้องตรวจสอบต่อมาคือระบบไฟฟ้า ตรวจสอบตั้งแต่การวัดแรงดัน กระแส ว่าอยู่ในระดับตามที่กำหนดในสเปกหรือไม่ อย่างไรถ้าไม่มีความรู้ด้านระบบไฟฟ้าควรให้ช่างผู้ชำนาญมาทำการตรวจเช็คระบบ ทั้งนี้กรณีพัดลมหมุนช้า อาจจะมาจากสาเหตุก้อนฝุ่นที่เกาะตามพัดลม แก้ไขโดยการฉีดน้ำทำความสะอาด ด้วยปั๊มแรงดันสูง - บานสวิงของคอยล์เย็นไม่ทำงาน ปรับขึ้นลงไม่ได้
บานสวิงคอยล์เย็นไม่ทำงานมีสาเหตุหลักๆ อยู่ 2 กรณี คือ มอเตอร์บานสวิงเสีย ขาบานสวิงหัก ซึ่ง 2 กรณีนี้แก้ไขเองได้ไม่ยาก สามารถหาซื้ออะไหล่เทียบรุ่นแอร์และเปลี่ยนเองได้ แต่หากสาเหตุเกิดจากชุดบอร์ดคอนโทรตำแหน่งที่ควบคุมการทำงานของมอเตอร์บานสวิงเกิดการเสียหาย กรณีต้องให้ช่างผู้ชำนาญมาทำการตรวจเช็คและแก้ไขปัญหา - ปรับอุณหภูมิแอร์ไม่ได้
อย่างแรกที่ควรตรวจสอบคือโหมดการทำงานของแอร์ ซึ่งดูได้จากหน้าจอรีโมทซึ่งโดยปกติควรเป็นโหมด COOL (ไม่ขอกล่าวถึงสาเหตุจากถ่านรีโมทหมดนะครับ) หากตรวจสอบแล้วอยู่ในโหมด COOL ปกติ ปัญหาอาจจะเกิดจากสาเหตุตัวรีโมทมีปัญหา หรือไม่ก็ชุดแผงรับสัญญาณรีโมทที่หน้าแอร์มีปัญหา
ด้านคอยล์ร้อน (Condensing) - แอร์ไม่ตัด ทำงานตลอด
ปัญหานี้มักเกิดจากคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานผิดปกติโดยสาเหตุหลักคือ ความเย็นไม่ถึงระดับ อาจเป็นเพราะเลือกใช้แอร์ BTU ไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง หรือหากตัดประเด็นเรื่อง BTU ไม่เหมาะสมออกไป สาเหตุอาจจะมาจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิเกิดความเสียหาย หรืออุปกรณ์แมกเนติกที่ทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้ามีปัญหา - แอร์ตัดบ่อย
เป็นอาการที่คอมเพรสเซอร์แอร์ตัดการทำงานเร็วเกินไปหรือตัดบ่อย ทั้งที่อุณหภูมิในห้องยังไม่มีความเย็น อาจเป็นเพราะเลือกใช้แอร์ BTU ไม่เหมาะสมกับขนาดห้องได้เช่นกัน หรือหากตัดประเด็นเรื่อง BTU ไม่เหมาะสมออกไป สาเหตุอาจจะมาจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิเกิดความเสียหาย หรืออุปกรณ์ Capacitor ที่ควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์เกิดการเสื่อม แต่อย่างไรปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคอมเพรสเซอร์แอร์ควรให้ช่างที่มีความชำนาญมาตรวจสอบปัญหา เพื่อการแก้ไขที่ถูกจุด และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากจะมีเรื่องแรงดันเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้านคอยล์เย็น (Fan Coil) และ คอยล์ร้อน (Condensing) - แอร์มีเสียดัง
คอยล์เย็น : มีเสียงดังบริเวณพัดลม และมอเตอร์ ปัญหาเสียงดังบริเวณพัดลมอาจจะเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยู่ภายในตัวแอร์บริเวณพัดลม แต่หากเกิดเสียงจากมอเตอร์สาเหตุอาจจะมาจากสาเหตุจการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์
คอยล์ร้อน : มีเสียงดังบริเวณคอมเพรสเซอร์ หากคอมเพรสเซอร์มีอายุการใช้งานมานานการเสื่อมสภาพต้องมีเกิดขึ้นแน่นอนและเป็นปัญหาใหญ่ อาจถึงขั้นต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่ ทั้งนี้ควรตรวจสอบให้ละเอียดเดียวจะมีประเด็นเส้นผมบังภูเขา ปัญหามาจากการแค่ยางรองคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพจึงเกิดเสียงดังผิดปกติ แต่อย่างไรปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคอมเพรสเซอร์แอร์ควรให้ช่างที่มีความชำนาญมาตรวจสอบปัญหาเพื่อการแก้ไขที่ถูกจุด และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากจะมีเรื่องแรงดันเข้ามาเกี่ยวข้อง - แอร์มีน้ำแข็งเกาะ
คอยล์เย็น : มีเกล็ดน้ำแข็งเกาะบริเวณแผงคอยล์เย็น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แผงคอยล์เย็นสกปรก, เซ็นเซอร์ตรวจอุณหภูมิเสียหาย, แผงคอยล์เย็นรั่ว ซึ่งอย่างหลังค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่ เพราะต้องซ่อมรอยรั่วและเติมน้ำยาแอร์ใหม่ หรือถึงขั้นต้องเปลี่ยนแผงคอยล์เย็น
คอยล์ร้อน : มีน้ำแข็งเกาะบริเวณ Service Vale ด้านอัด เกิดจากสาเหตุหลักคือน้ำยาในระบบมีน้อยเกิดไป กับ อุปกรณ์แค๊ปทิ้วบ์ตันทำให้ระบบทางเดินน้ำยาทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรให้ช่างที่มีความชำนาญมาตรวจสอบปัญหาเพื่อการแก้ไขที่ถูกจุด และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากต้องมีการล้างระบบด้วยน้ำยา F11 และแรงดันของน้ำยาแอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
แผนที่ร้าน
เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย จากอาการเสียของ Capacitor หรือ Cap run เสื่อมสภาพจากการใช้งาน หรือ ระบบน้ำยาสารทำความเย็นรั่วซึม เบื้องต้นอย่าลืมเช็คโหมดการทำงาน ของเครื่องปรับอากาศกันนะครับ
การมีไฟ LED กระพริบหน้าแอร์นั้นจะกระพริบเป็นจังหวะหรือจำนวนครั้งตามโค๊ดของแอร์แต่ละยี่ห้อ ซึ่งจะหมายถึงอุปกร์ด้านในตัวแอร์มีปัญหา ยกตัวอย่างเช่น บอร์ดคอนโทร, เซ็นเซอร์อุณหภูมิ, มอเตอร์พัดลม
ปัญหานี้มักเกิดจากคอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานผิดปกติโดยสาเหตุหลักคือ ความเย็นไม่ถึงระดับ อาจเป็นเพราะเลือกใช้แอร์ BTU ไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง สาเหตุอาจจะมาจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิเกิดความเสียหาย หรืออุปกรณ์แมกเนติกที่ทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้ามีปัญหา
มีเกล็ดน้ำแข็งเกาะบริเวณแผงคอยล์เย็น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แผงคอยล์เย็นสกปรก, เซ็นเซอร์ตรวจอุณหภูมิเสียหาย, แผงคอยล์เย็นรั่ว ซึ่งอย่างหลังค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่ เพราะต้องซ่อมรอยรั่วและเติมน้ำยาแอร์ใหม่ หรือถึงขั้นต้องเปลี่ยนแผงคอยล์เย็น